วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การนำไปใช้

ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมี

1. สารปรุงรสอาหาร และสารแต่งสีอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

- ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำส้มสายชู น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น
- ได้จากธรรมชาติ เช่น เกลือ น้ำมะนาว น้ำมะขามเปียก อัญชัน เป็นต้น
2. สารทำความสะอาด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- ได้จากการสังเคราะห์ เช่น น้ำยาล้างจาน สบู่ก้อน สบู่เหลว แชมพูสระผม ผงซักฟอก สารทำความสะอาดพื้น เป็นต้น
- ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำมะกรูด มะขามเปียก เกลือ เป็นต้น
3.สารป้องกันและฆ่าแมลง สัตว์แทะและสารฆ่าศัตรูพืช แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- ได้จากการสังเคราะห์ เช่น สารฆ่ายุง สารฆ่าแมลง เป็นต้น
- ได้จากธรรมชาติ เช่น เปลือกมะนาว เปลือกมะกรูด เปลือกส้ม เป็นต้นการใช้สารเคมี ในด้านต่าง ๆ เช่น โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ประโยชน์
- ใช้ดับไฟในป่า ,ดับไฟ โดยเมื่อถูกความร้อนจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาคลุมไฟไว้ไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปช่วยติดไฟได้เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนักกว่าก๊าซออกซิเจนจึงลอยต่ำกว่า ทำให้ไฟดับได้
- ทำหนมปัง ผงฟู โดยเมื่อโดนความร้อนจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดช่องอากาศเป็นรูเล็กๆ ในขนมปังขึ้น ทำให้ขนมปังฟู สมชื่อ ผงฟู
ด้านการใช้สารเคมีเป็นสารเจือปนอาหาร ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้
1.ใช้ปรับความเป็นกรด-ด่าง เช่น กรดซิตริก กรดฟอสฟอริก กรดแลคติก กรดอะซิติก แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น
2.ใช้เพื่อกันการรวมตัวเป็นก้อน เช่น โซเดียมซิลิเคต แคลเซียมสเตียเรต
3. ใช้กันหืนและเสริมฤทธิ์วัตถุที่ใช้กันหืน เช่น โทโคฟีรอล กรดฟอสฟอริก
4. ใช้เป็นเกลือ เช่น โซเดียมฟอสเฟต แคลเซียมซัลเฟต
5. ใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ สเตบิไลเซอร์ และสารทำให้ข้น เช่น กัวร์กัม คาราจีแนน แคลเซียมคลอไรด์ เจลาตินชนิดรับประทาน เลซิทิน อซิติเลตเตตไดสตาร์ชฟอสเฟต แอซิดทรีตเตตสตาร์ช
6. ใช้เพื่อกันเสีย เช่น กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก
7. ใช้เพื่อการคงรูป เช่น แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซิเตรท
8. ใช้เป็นแคริเออร์โซลเวนต์ เช่น กลีเซอรีน โปรปิลีนไกลคอล ใช้สารเคมี ในด้านการเกษตร เช่น ทำปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ในการปลูกพืชดอกก็มีปุ๋ยเคมีเร่งดอก พืชที่ต้องการใบก็มีสสารเคมีเร่งใบ พืชที่ต้องการรากหรือหัว ก็มีสารเคมีเร่งรากหรือหัวเป็นต้น


ใช้สารเคมีกำจัดสัตรูพืช ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันและกำจัด เช่น
1. โรคราน้ำค้าง เป็นจุดสีเหลืองบนใบ ป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารริโดมิลเอ็มแซด หรือวามีเอส
2. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา ป้องกันกำจัด ใช้เทอร์ราคลอละลายน้ำราดบริเวณหลุมที่เป็นโรค
3. เพลี้ยไฟ จะดูดน้ำเลี้ยงใบ ป้องกันกำจัด ใช้ยาฟูราดาน 3 จี จำนวน 1 ช้อนชา/หลุม ใส่พร้อมหยอดเมล็ด
4. แมลงวันแตง ตัวเมียจะเจาะวางไข่ที่ผล การป้องกันกำจัด โดยเก็บผลที่ร่วงผิวดินเพื่อลดการระบาดหรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ตัวอย่าง METHOMYLใช้กำจัดและป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยออกฤทธิ์ทำลายไข่ ตัวอ่อนและแมลงในวัยเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ซึ่งใช้ได้กับพืช ผัก และไม้ผลต่าง ๆ ได้หลายชนิด เป็นต้น


การใช้สารเคมีป้องกันและฆ่าแมลง สัตว์แทะ และสารฆ่าศัตรูพืช
1. สารป้องกันและฆ่าแมลง สัตว์แทะ ใช้ในการกำจัดแมลง และสัตว์ เช่น แมลงวัน แมลงสาบ หนู ฯลฯ ซึ่งจะนำความรำคาญ ทำให้ข้าวของเสียหาย หรือนำโรคภัยมาสู่คนและสัตว์เลี้ยง
2. สารฆ่าวัชพืช ใช้ในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นแซมแปลงผัก เรือกสวน ไร่นา ต่าง ๆ
3. สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ใช้กำจัดแมลง หรือสัตว์อื่น ๆ เช่น หนอน และเชื้อราบางชนิด ฯลฯ ทำให้พืชไม่เจริญเติบโต สร้างความเสียหายและขาดทุนซึ่งสารดังกล่าวมีทั้งชนิดเหลว ชนิดเป็นก้อน หรือเป็นแท่ง

แหล่งที่มา


https://th.wikipedia.org/wiki/                                                     

ประวัติส่วนตัว

                                                                ประวัติส่วนตัว

ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ นายสุพัฒน์ชัย เมืองมา เกิดวันที่ 7 สิงหาคม 2541 ที่อยู่ 15 ม.4 ตำบล สะตอ อำเภอ เขาสมิง
จังหวัด ตราด FACEBOOK : Supatchai Muangma
LINE : supatchai555oe

ประวัติการทำงาน
 การทำงาน  ปัจจุบันเป็นนักเรียนโรงเรียนสะตอวิทยาคม  รัชมังคลาภิเษก

ประวัติการศึกษา
 ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสะตอวิทยาคม  รัชมังคลาภิเษก  จบป.6
โรงเรียนบ้านหนองบัว พ.ศ.2553 จบม.3 จากโรงเรียนสะตอวิทยาคม  รัชมังคลาภิเษก
พ.ศ.2556

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเภทของเคมี

ประเภทวิชาย่อยของวิชาเคมี

วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นประเภทย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก
เคมีวิเคราะห์ 
เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) คือการวิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.
ชีวเคมี 
ชีวเคมี (Biochemistry) คือการศึกษาสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
เคมีอนินทรีย์ 
เคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry) คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry
เคมีอินทรีย์ 
เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของสารประกอบอินทรีย์
เคมีฟิสิกส์ 
เคมีเชิงฟิสิกส์(Physical Chemistry) คือการศึกษารากฐานทางกายภาพของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน สาขาที่สำคัญในกลุ่มนี้รวมถึง
  1. เคมีอุณหพลศาสตร์ (chemical thermodynamics)
  2. เคมีไคเนติกส์ (chemical kinetics)
  3. เคมีควอนตัม (quantum chemistry)
  4. กลศาสตร์สถิติ (statistical mechanics)
  5. สเปกโตรสโคปี (spectroscopy)
สาขาอื่นๆ 

ประวัติและความเป็นมาของเคมี








                       ประวัติและความเป็นมาของเคมี



   เคมี (อังกฤษ: chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะ
ในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทาง
ด้านเคมี
เน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี
     บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับ
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่นธรณีวิทยาหรือชีววิทยาถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่ง
ของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่าง
จากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก

   มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุ
ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง


                                                    ความหมายของเคมี

  เคมี - [chemistry] คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร 
และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร
 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอม
เพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล
 เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

        คำว่าเคมีในภาษาอังกฤษคือ chemistry ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก
 เคมีมักจะถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เนื่องจากวิชาเคมีนั้นเชื่อมต่อวิทยาศาสตร์อื่นๆ
เข้าด้วยกันอย่างเช่นฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือแม้แต่ธรณีศาสตร์ เคมีนำทางศาสตร์จำเพาะย่อยๆมากมาย
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะเหลื่อมล้ำกับวิทยาศาสตร์อื่นๆในอัตราที่ถือว่ามากทีเดียว 
   อย่างไรก็ตามศาสตร์จำเพาะย่อยนั้นถือว่ามีความสำคัญทางเคมีอย่างมากเฉกเช่นการผลิต
และทดสอบวัตถุที่แข็งแรง การผลิตยาเพื่อรักษาโรคต่างๆ และรวมไปถึงกำหนดขั้นตอนการทำงาน
ของร่างกายในระดับเซลล์
     เคมีโดยพื้นฐานแล้วนั้นมักจะเกี่ยวกับสสาร การปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสสารด้วยกันเอง
 หรือการปฏิสัมพันธ์ของสสารกับสิ่งที่ไม่ใช่สสารอย่างเช่นพลังงาน แต่ศูนย์กลางของเคมีโดยทั่วไป
คือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารเคมีด้วยกันในปฏิกิริยาเคมีโดยสารเคมีนั้นแปรรูปเป็นสารเคมีอีกชนิดหนึ่ง 
นี่อาจจะรวมไปถึงการฉายรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสู่สารเคมีหรือสารผสม
 (ใน photochemistry) ในปฏิกิริยาเคมีที่ต้องการแรงกระตุ้นจากแสง อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาเคมีนั้น
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเคมีซึ่งศึกษาสสารในด้านอื่นๆอีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นักสเปกโตรสโคปี
นั้นจะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสารโดยที่ไม่มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
            
                                                       ความหมายของสารเคมี

  สารเคมี ในความหมายกว้างๆ สารเคมีหมายถึงสารอนินทรีย์ หรือสารอินทรีย์ที่มีสามารถระบุ
โมเลกุลของสารได้ อาจปรากฏอยู่ในธรรมชาติ หรือถูกสังเคราะห์ขึ้นจากปฏิกิริยาต่างๆ ก็ได้โดยทั่วไปแล้ว
 สารเคมีจะมีสถานะอยู่ 3 สถานะเช่นเดียวกันกับสสาร ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ หรือ พลาสมา
 สามารถเปลี่ยนสถานนะ
ได้เมื่อสภาวะหรือเงื่อนไขเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนอุณหภูมิความดัน โดยใช้ปฏิกิริยาทางเคมี 
ก็สามารถเปลี่ยนจากสารเคมีหนึ่ง ไปเป็นสารเคมีตัวใหม่ได้ ส่วนพลังงาน เช่นแสง หรือความร้อน 
ไม่จัดอยู่ในรูปของสสาร จึงไม่
อยู่ในกลุ่มของสารเคมีในคำจำกัดความนี้
  • สารประกอบ เกิดจากการรวมตัวกันของธาตุมากกว่า 2 อะตอมขึ้นไปในสัดส่วนที่คงที่ 
  • ซึ่งจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากธาตุเริ่มต้น
  • ของผสม ประกอบด้วยสารผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น นม อากาศ ซีเมนต์ เครื่องดื่ม
  •  ซึ่งมีองค์ประกอบไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อากาศที่มีแตกต่างกัน
  •  ระหว่างบริเวณชานเมือง และในตัวเมือง ของผสมแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ ของผสมเนื้อเดียว 
  • (ทุกส่วนละลายเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด) และของผสมเนื้อผสม (ทุกส่วนไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ทั้งหมด) Popularity 49%
  • ธาตุ ก็มีความหมายถึงสารเคมีเหมือนกัน ไม่สามารถทำลายหรือเปลี่ยนรูปไปเป็นสารเคมีตัวอื่นๆ
  •  ด้วยการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี แต่สามารถเปลี่ยนรูปโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ เนื่องจากอะตอม
  • ของธาตุแต่ละชนิดจะมีนิวตรอน โปรตอน และอิเล็คตรอน หากเปลี่ยนโดยการเพิ่มนิวตรอนของธาตุ
  • เดิม ก็จะได้ไอโซโทป (isotope) ของธาตุนั้นเกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น ปัจจุบันมีการค้นพบธาตุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่ที่ประมาณ 120 ธาตุ มี 80 ธาตุที่มีความเสถียร ธาตุหลักๆ จัดอยู่ในกลุ่มของโลหะ เช่น ทองแดง (Cu) เหล็ก (Fe)
  •  ทองคำ (Au) ซึ่งมีคุณสมบัติ นำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี ส่วนธาตุอโลหะ เช่น คาร์บอน (C) 
  • ไนโตรเจน (N) และออกซิเจน (O) จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจะโลหะข้างต้น นอกจากนั้นยังมีธาตุ
  • ในกลุ่มกึ่งโลหะ (metalloids) เช่น ซิลิกอน (Si) จะมีคุณสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ 

                                                                                        


                                                                                  ที่มาhttps://chemistryhomes.wordpress.com/

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ตารางธาตุ

                                           
                                             ตารางธาตุ

ตารางธาตุ (อังกฤษPeriodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-dจะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง
แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ
ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน พ.ศ. 2412 เขาจัดตารางธาตุโดยเรียงตามสมบัติทางเคมีของธาตุ และเมนเดเลเยฟยังสามารถทำนายธาตุที่ยังไม่ค้นพบ โดยเขาเชื่อว่ามันจะเติมเต็มช่องว่างในตารางธาตุของเขาได้ การทำนายของเขาส่วนใหญ่ค่อนข้างใกล้เคียงกับสมบัติจริงของธาตุ ตารางธาตุของเขาก็ขยายเพิ่มขึ้นด้วยการค้นพบธาตุใหม่เรื่อย ๆ และก็มีการพัฒนาแบบจำลองทางทฤษฎีที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของธาตุเคมีใหม่ ๆ เหล่านั้น
ธาตุทุกตัวนับตั้งแต่มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 (ไฮโดรเจน) จนถึง 118 (อูนอูนออกเทียม) ถูกค้นพบหรือมีการสังเคราะห์ขึ้นมาได้แล้ว และธาตุที่ 113 115 117 และ 118 ยังไม่ได้รับการยืนยัน ธาตุ 98 ตัวแรกพบได้ในธรรมชาติถึงแม้ว่าบางตัวจะมีปริมาณน้อย และถูกสังเคราะห์ขึ้นก่อนที่จะพบในธรรมชาติก็ตาม ส่วนธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 99 ถึง 118 ถูกสังเคราะห์ขึ้นทั้งสิ้นหรือมีการคาดว่าจะถูกสังเคราะห์ ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พบว่าไอน์สไตเนียมและเฟอร์เมียม สามารถพบในธรรมชาติได้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ธรรมชาติ ที่เมืองโอโคล ประเทศกาบอง แต่ปัจจุบันยังไม่มีการทำเช่นนั้น การผลิตธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่านี้กำลังมีการผลิตอย่างรวดเร็วกับคำถามที่ว่าตารางธาตุจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อนรองรับธาตุใหม่ ๆ 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพตารางธาตุ


                                            ตารางธาตุที่แสดงสถานะออกซิเดชัน


ตารางธาตุทุกรูปแบบจะประกอบไปด้วยธาตุเคมีเท่านั้น ไม่มีสารผสม สารประกอบ หรืออนุภาคมูลฐานอยู่ในตารางธาตุด้วย ธาตุเคมีแต่ละตัวจะประกอบไปด้วยเลขอะตอม ซึ่งจะบ่งบอกจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ๆ ธาตุส่วนใหญ่จะมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างกัน ท่ามกลางอะตอมที่แตกต่างกัน ซึ่งจะอยู่ในรูปของไอโซโทป เช่น คาร์บอน มีไอโซโทปที่ปรากฏในธรรมชาติ 3 ไอโซโทป โดยไอโซโทปของคาร์บอนส่วนใหญ่ที่ปรากฏในธรรมชาติจะประกอบไปด้วยโปรตอน 6 ตัวและนิวตรอน 6 ตัว แต่มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีนิวตรอน 7 ตัว และมีโอกาสนิดเดียวที่จะพบคาร์บอนที่มีนิวตรอน 8 ตัว ไอโซโทปแต่ละไอโซโทปจะไม่ถูกแยกออกจากกันในตารางธาตุ พวกมันถูกจัดให้เป็นธาตุเดียวกันไปเลย ธาตุที่ไม่มีไอโซโทปที่เสถียรจะสามารถหามวลอะตอมได้จากไอโซโทปที่เสถียรที่สุดของมัน โดยมวลอะตอมที่เสถียรที่สุดดังกล่าวจะแสดงในวงเล็บ
                    
ในตารางธาตุมาตรฐาน ธาตุจะถูกเรียงตามเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม) ที่เพิ่มขึ้น คาบใหม่จะมีได้ก็ต่อเมื่อวงอิเล็กตรอนใหม่มีอิเล็กตรอนอยู่ในวงอย่างน้อยหนึ่งตัว หมู่จะกำหนดตามการจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอม ธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเดียวกันในวงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดจะถูกจัดให้อยู่ในหมู่เดียวกัน (เช่น ออกซิเจน กับซีลีเนียม อยู่ในหมู่เดียวกันเพราะว่าพวกมันมีอิเล็กตรอน 4 ตัวในวงอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดเหมือนกัน) โดยทั่วไป ธาตุที่สมบัติทางเคมีคล้ายกันจะถูกจัดในหมู่เดียวกัน ถึงแม้จะเป็นในบล็อก-f ก็ตาม และธาตุบางตัวในบล็อก-d มีธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันในคาบเดียวกันเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะทำนายสมบัติทางเคมีของธาตุเหล่านั้น ถ้ารู้ว่าธาตุรอบ ๆ นั้นมีคุณสมบัติอย่างไร
จนถึง พ.ศ. 2557 ตารางธาตุมีธาตุที่ได้รับการยืนยันแล้ว 114 ตัว ตั้งแต่ธาตุที่ 1 (ไฮโดรเจน) ถึงธาตุที่ 112 (โคเปอร์นิเซียม) และธาตุที่ 114 (ฟลีโรเวียม) กับธาตุที่ 116 (ลิเวอร์มอเรียม) ส่วนธาตุที่ 113 115 117 และ 118 ถึงแม้จะมีการสังเคราะห์เป็นจำนวนมากแล้ว แต่ก็ยังไม่มีธาตุใดที่ได้รับการยืนยันจากสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (ไอยูแพก) หรือมีการตั้งชื่อแต่อย่างใด ปัจจุบันธาตุเหล่านี้ถูกเรียกชื่อจากเลขอะตอมของมัน (เช่น "ธาตุที่ 113") หรือชื่อชั่วคราวตามระบบการตั้งชื่อธาตุเคมี (เช่น ธาตุที่ 113 มีชื่อตามระบบการตั้งชื่อว่า "อูนอูนเทรียม" มีสัญลักษณ์ว่า "Uut")
ธาตุทั้งหมด 98 พบได้ในธรรมชาติ อีก 16 ธาตุที่เหลือ นับตั้งแต่ ธาตุที่ 99 (ไอน์สไตเนียม) จนถึงธาตุที่ 112 (โคเปอร์นิเซียม) และธาตุที่ 114 (ฟลีโรเวียม) กับธาตุที่ 116 (ลิเวอร์มอเรียม) ถูกสังเคราะห์ขึ้นในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น ในบรรดาธาตุ 98 ตัวที่พบในธรรมชาตินี้ มีธาตุ 84 ตัวที่เป็นธาตุดึกดำบรรพ์และที่เหลืออีก 14 ธาตุปรากฏในโซ่ของการสลายตัวของธาตุดึกดำบรรพ์เหล่านั้น ยังไม่มีใครพบธาตุที่หนักกว่าไอน์สไตเนียม (ธาตุที่ 99) ในรูปธาตุบริสุทธิ์ ในปริมาณที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลย






                                                                 ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ